วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

งาน E - Book เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์


เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์  คือ วัสดุ อุปกรณ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาการสำรวจ  การเก็บรวบรวม การบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.     เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่  แผนที่  ลูกโลก  ข้อมูลสถิติ  กราฟและแผนภูมิ     แผนภาพ   ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม

2.       เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใช้หาข้อมูล ได้แก่  เข็มทิศ  เครื่องมือวัดระยะทางในแผนที่ เครื่องมือวัดพื้นที่  กล้องสามมิติ  เครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น บาโรมิเตอร์ เทอร์โมมิเตอร์ เป็นต้น

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล

1.              แผนที่ (map)

ความหมายของแผนที่

พจนานุกรมศัพท์ทางภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของแผนที่ไว้ ว่า แผนที่ หมายถึง สื่อรูปแบบหนึ่งที่ถ่ายทอดข้อมูลของโลกในรูปกราฟิก โดยการย่อส่วนให้เล็กลงด้วยมาตราส่วน ขนาดต่างๆ และเส้นโครงแผนที่แบบต่างๆ ให้เข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ด้วยการใช้สัญลักษณ์ ดังนั้นจึงกล่าวไว้ว่า แผนที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวโลก และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ด้วยการย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงตามอัตราส่วนที่ ต้องการและใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่จริงบนผิวโลก ทั้งนี้จะคงความเหมือนจริงทั้งขนาด รูปร่าง ทิศทาง และตำแหน่งที่ตั้งไว้

ชนิดของแผนที่

แผนที่สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป ดังนี้

1.      แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงข้อมูลรายละเอียดของผิวโลกที่ เกี่ยวกับภูมิลักษณ์แบบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบ แม่น้า ทะเล ทะเลสาบ เป็น ต้น และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมือง หมู่บ้าน พื้นที่เกษตรกรรม อ่างเก็บน้า ถนน ทางรถไฟ เป็นต้น

แผนที่ภูมิประเทศแสดงความสูงของผิวโลกด้วยเส้นชั้นความสูง (contour line) และหมุดระดับ (bench mark) จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้กันมากมี 2 มาตราส่วน ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็ก คือ มาตราส่วน 1 : 250,000 และแผนที่มาตราส่วนใหญ่ คือ มาตราส่วน 1 : 50,000 เนื่องจากแผนที่ภูมิประเทศทั้ง สองมาตราส่วนจัดทำขึ้นจากข้อมูลที่ได้มาจาก รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม จึงได้ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บน พื้นผิวโลกที่ถูกต้องและทันสมัย มีจุดพิกัดภูมิศาสตร์อ้างอิงได้ จึงเป็นแผนที่ที่มีความนิยมใช้ในงานสาขาอื่น ๆ เช่น การ สร้างถนน การสร้างเขื่อน การสร้างเมืองใหม่ การป้องกันอุทกภัย เป็นต้น

2.       แผนที่ เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลหลักเฉพาะเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง เช่น แผนที่ประชากร แผนที่อากาศ แผนที่ป่าไม้ แผนที่ท่องเที่ยว แผนที่เหล่านี้จะมีการสำรวจเพิ่มเติมหรือ ปรับแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยเป็นระยะๆ ไปมาตราส่วนของแผนที่เฉพาะเรื่องมีความหลากหลายตามลักษณะข้อมูลที่ ต้องการ แสดง แต่ส่วนมากจะเป็นมาตราส่วนเล็ก เช่น มาตราส่วนเล็กกว่า 1 : 1,000,000 1 : 500,000 หรือ 1 : 250,000 เป็นต้น ส่วนแผนที่เฉพาะเรื่องที่มีลักษณะเชิงวิชาการ เช่น แผนที่ชุดดิน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ธรณีวิทยาและแหล่งแร่ อาจทำเป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 100,000 หรือ 1 : 50,000 แต่พื้นที่เฉพาะเรื่องบางชนิดที่ต้องการ แสดงเฉพาะพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น ทรัพยากรธรรมชาติในตำบลหรือหมู่บ้านอาจจะมีการจัดทำแผนที่มาตราส่วนใหญ่ได้

3.   แผนที่แบบแบน (planemetric map) คือ เป็นแผนที่ที่ไม่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความสูง โดยจะแสดงตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ในทางราบมีประโยชน์อย่างมากในการใช้หาระยะทางและเส้นทาง

4.     แผนที่เล่ม (atias) คือ แผนที่ชนิดต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น แผนภูมิประเทศ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่เขตการปกครอง แผนที่กระจายของประชากร แผนที่เขตพืชพรรณธรรมชาติ เป็นต้น


องค์ประกอบแผนที่

           แผนที่โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

 


การอ่านแผนที่
แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตหลาย ประการ เช่น ใช้แผนที่ ในการเดินทาง การวางแผนการท่องเที่ยว การศึกษาสภาพของพื้นที่เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นผู้ใช้หรือผู้ศึกษาแผนที่จึงควรมีความรู้และความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ ของแผนที่ และฝึกฝนการอ่านแผนที่อยู่เสมอ จึงจะสามารถอ่านแผนที่ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและนำข้อมูลที่ต้องการจากแผนที่ไปใช้ประโยชน์ได้ตาม วัตถุประสงค์
ประโยชน์ของแผนที่
แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความจำเป็นสำหรับการศึกษาสภาพแวด ล้อมทาง ภูมิศาสตร์ และเป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ดังนี้
1.   ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้แสดงเส้นทางคมนาคมในการเดินทาง เป็นต้น
2.     ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีประโยชน์ในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว การวางแผนการ ท่องเที่ยว รวมถึงการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
3.     ใช้ในการรายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น แผนที่แสดงอุณหภูมิ แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ของพายุ ซึ่งทำให้ เข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
4.     ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนสร้างระบบสาธารณูปโภค เช่น วางแผนการตัดถนน วางระบบ โทรคมนาคม วางสายไฟฟ้า วางท่อประปา การสร้างเขื่อน เป็นต้น
5.     ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร แผนที่ แสดงแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป เป็นต้น
6.      ใช้ในกิจการทางทหาร โดยนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนทางยุทธศาสตร์ เช่น การเลือกตั้งที่ค่ายทหาร การทิ้งระเบิดโจมตีทางอากาศ เป็นต้น
7.     ใช้ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจและปักปันเขตแดน เป็นต้น
8.      ใช้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่ เช่น ศึกษาชนิด คุณภาพ และการกระจายดิน ธรณีวิทยา ป่าไม้  เป็นต้น
2.     ลูกโลกจำลอง  (globe)
ลูกโลกจำลอง เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของโลกแสดงที่ตั้งอาณาเขตพรมแดน ของประเทศต่างๆ และ ลูกโลกจำลองยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี ลูกโลกจำลองแสดงสิ่งต่อไปนี้
รูปทรงของโลก โลกมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม คือ ตรงบริเวณขั้วโลกทั้งสองยุบราบลงเล็กน้อยและป่องตรง บริเวณศูนย์สูตร โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร ยาว 12,756 กิโลเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว 12,714 กิโลเมตร จึงเห็นได้ว่ารูปร่างของโลกไม่เป็นทรงกลมอย่างแท้จริง บนผิว โลกจะมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นน้า ได้แก่ ทะเล มหาสมุทรต่างๆ มีเนื้อที่ รวมกัน 375 ล้านตารางกิโลเมตร และส่วนที่เป็นแผ่นดิน ได้แก่ ทวีปและเกาะต่างๆ มีเนื้อที่รวมกัน 150 ล้าน ตารางกิโลเมตร เมื่อรวมทั้งพื้นน้าและแผ่นดินแล้ว โลกจะมีเนื้อที่รวมประมาณ 525 ล้านตารางกิโลเมตร โดยคิดสัดส่วนบริเวณผิวของเปลือกโลกจะเป็นพื้นน้ำ 2 ใน 3 ส่วน และส่วนที่เป็นแผ่นดิน 1 ใน 3 ส่วน
ดังนั้น การสร้างลูกโลกจำลองจึงต้องเป็นไปตามสัดส่วนของโลก แต่เนื่องจากเมื่อมีการย่อส่วนเป็นลูกโลกจำลองแล้ว จะพบว่าค่าความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร และจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้จะมีค่าไม่ต่างกันมากนัก จึงเห็นได้ว่ารูปโลกจำลองมีลักษณะทรงกลม เพราะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับขนาดจริงของโลก
ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกจำลอง
ลูกโลกจำลองมีหลายแบบตามวัตถุประสงค์ของการแสดง ซึ่งอาจแบ่งได้ เป็น 2 แบบ ดังนี้
1.      ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ ส่วนที่เป็นพื้นน้า ซึ่งได้แก่ น้ำทะเล มหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่จะแสดงด้วยสีน้าเงินอ่อนและส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งได้แก่ รายละเอียดของ ทวีป ประเทศ ที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองสำคัญ
2.     ส่วนที่สมมติขึ้น ลูกโลกจำลองจะแสดงเส้นเมริเดียนที่ลากจากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ และเส้นขนานที่ลากรอบโลก ขนานกับเส้นศูนย์สูตร เส้นทั้งสองมีไว้เพื่อบอกพิกัดภูมิศาสตร์เป็นค่าของละติจูดและลองจิจูดของตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่บนผิวโลก 
3.      ข้อมูลสถิติ
ข้อมูลสถิติเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ข้อมูลที่รวบรวมไว้มีทั้งที่เป็นข้อความและตัวเลข ในทางภูมิศาสตร์นิยมแสดงข้อมูลสถิติไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่
1.       ตารางสถิติ คือ แผนภูมิที่แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ไว้ในรูปของตาราง เช่น สถิติเนื้อที่ของทวีปหรือประเทศ สถิติประชากร สถิติอุณหภูมิหรือปริมาณน้ำฝนของบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
2.     กราฟและแผนภูมิ เขียนขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนค่าของตัวแปรหนึ่งเปรียบเทียบกับค่าของตัวแปร อื่น เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการศึกษาภูมิศาสตร์ เพราะจะช่วยให้การวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลที่นำมาใช้มีความรวดเร็ว การเปรียบเทียบอัตราส่วนข้อมูลทำได้สะดวก และเข้าใจได้ง่ายมีหลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟรูปแท่ง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิรูปทรงกลม
 
 
 

 
 
4.              แผนภาพ (diagram)
แผนภาพ (diagram) คือ รูปที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเรื่องราวทางภูมิศาสตร์บางอย่างเกิดขึ้นในอดีต เช่น การเกิดที่ราบ การทับถมของหินชั้น และปรากฏการณ์บางอย่างที่มองไม่เห็น เช่น วัฏจักรของน้ำ การเกิดลมบก-ลมทะเล การใช้แผนภาพอธิบายจะทำให้เข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
       5.     รูปถ่ายทางอากาศ  (aerial photograph)
รูปถ่ายทางอากาศ คือ รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ โดยผ่านเลนส์กล้องและฟิล์ม หรือข้อมูลเชิงเลข ซึ่งถ่ายด้วย กล้องที่นำไปในอากาศยาน อันได้แก่ บัลลูน เครื่องบิน เป็นต้น ในสมัยปัจจุบันมีการถ่ายรูปทางอากาศจากยานอวกาศได้ ด้วย ปกติการถ่ายรูปทางอากาศจะถ่ายจากเครื่องบินที่มีการวางแผนการบิน และกำหนดมาตราส่วนของแผนที่มาแล้วเป็นอย่างดี กล้องถ่ายรูปทางอากาศคล้ายกับกล้องถ่ายรูปทั่วไปในอดีตแต่มีขนาดใหญ่กว่า เลนส์ยาวกว่าและใช้ฟิล์มขนาดใหญ่ ซึ่งปกติจะมีขนาดประมาณ 24 x 24 เซนติเมตร รูปถ่ายทางอากาศจะให้ข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียด นอกจากนี้รูปถ่ายทางอากาศมีการถ่ายรูปซ้อนทับพื้นที่บนรูปที่ต่อเนื่องกัน จึงสามารถดูเป็นภาพสามมิติ หรือทรวดทรงของผิวโลก ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในด้านภูมิศาสตร์
 
ประเภทของรูปถ่ายทางอากาศ
รูปถ่ายทางอากาศ มี 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการถ่ายรูปดังนี้
1.  รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่ง เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายรูปในแนวตั้งฉากกับผิวโลกและไม่เห็นแนวขอบฟ้า
 
                                                       รูปถ่ายอากาศเขตประชาชื่น
2.     รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียง เป็นรูปถ่ายที่เกิดจากการกําหนดแกนของกล้องในลักษณะเฉียง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                      1)    รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูง ลักษณะรูปถ่ายจะเห็นแนวขอบฟ้าเป็นแนวกว้างใหญ่
                   2) รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงตํ่า เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ไม่ปรากฏเส้นขอบฟ้าในภาพรูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูงและแนวเฉียงต่ำใช้แสดงภาพรวมของพื้นที่ แต่มีมาตราส่วนบนรูปถ่ายทางอากาศแตกต่างกัน รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่งมีมาตราส่วนในรูปค่อนข้างคงที่จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ทำแผนที่


หลักการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ มีหลักการ ดังนี้
1.     ความแตกต่างของความเข้มของสี วัตถุต่างชนิดกันจะมีการสะท้อนคลื่นแสงต่างกัน เช่น ดินแห้งที่ไม่มีต้นไม้ ปกคลุมจะสะท้อนคลื่นแสงมากจึงมีสีขาว น้ำดูดซับเคลื่อนแสงมากจะสะท้อนคลื่นแสงน้อยจึงมีสีดำ บ่อน้ำตื้นหรือมีตะกอนมากจะสะท้อนคลื่นแสงได้ดีกว่าบ่อน้ำลึกหรือเป็นน้ำใสป่าไม้หนาทึบจะสะท้อนคลื่นแสงน้อยกว่าป่าไม้ถูกทำลาย ดังนั้นป่าไม้แน่นทึบจึงมีสีเข้มกว่าป่าถูกทำลาย เป็นต้น
2.      ขนาดและรูปร่าง เช่น สนามฟุตบอลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น
3.      เนื้อภาพและรูปแบบ เช่น ป่าไม้ธรรมชาติจะมีเรือนยอดเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้างมีระดับสูงต่ำและไม่เรียงเป็นระเบียบ ส่วนป่าปลูกจะมีเรือนยอดสูงใกล้เคียงกันละเรียงเป็นระเบียบ เป็นต้น
4.     ความสูงและเงา ในกรณีที่วัตถุมีความสูง เช่น ต้นไม้สูง ตึกสูง เป็นต้น เมื่อถ่ายรูปทางอากาศในระดับไม่สูงมากและเป็นช่วงเวลาเช้าหรือเวลาบ่ายจะมีเงาทำให้ช่วยในการแปลความหมายได้ดี
5.      ตำแหน่งและความสัมพันธ์ เช่น เรือในแม่น้า เรือในทะเล รถยนต์บนถนนต่างแสดงตำแหน่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นต้น
6.     ข้อมูลประกอบ เช่น ใช้แผนที่การใช้ที่ดิน แผนที่ป่าไม้ประกอบการแปลความหมายด้านการใช้ที่ดินและป่าไม้ เป็นต้น
7.      การตรวจสอบข้อมูล ผู้แปลจะต้องมีความรู้ที่จะนำองค์ประกอบมาผสมผสานกัน การตรวจสอบข้อมูลภาคสนามจะช่วยให้การแปลความหมายถูกต้องแม่นยำ แต่รูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายในช่วงปีที่แตกต่างกันจะช่วยทำให้เห็น ลักษณะการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งโดยกิจกรรมของมนุษย์และตามสภาพธรรมชาติ
ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ มีดังนี้
1.             การสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศ
2.             การใช้ในกิจการทหารและความมั่นคงของประเทศ
3.             การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.             การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ที่ดิน
5.             การวางผังเมืองและการสำรวจแหล่งโบราณคดี
6.             การสำรวจและการติดตามด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงของชาติ
 
6.              ภาพจากดาวเทียม
ดาวเทียม คือ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกมีอุปกรณ์สำหรับเก็บ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย เช่น ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีปหรือใช้ในการบันทึกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำ
ข้อมูลจากดาวเทียม เป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ ณ สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศไทยมีสถานีรับ สัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากรตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีและที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครและมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัว เลขที่ส่งมาแล้ว จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียมที่นำไปแปลความหมายต่อไปได้ใน ระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลตัวเลขมา วิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้
ชนิดของดาวเทียม  แบ่งออกได้ดังนี้
    1.       ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาดาวเทียมบางดวงจะโคจรรอบโลกในอัตราเร็วเท่ากับการหมุนของโลกและอยู่ในแนวตะวันออกตะวันตกเสมอ เช่น ดาวเทียม GMS ดาวเทียม GOES เป็นต้น ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลภูมิอากาศเกือบตลอดเวลา จึงเป็นประโยชน์มากในการพยากรณ์อากาศและการเตือนภัย
  2.    ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลสมุทรศาสตร์ เช่น ดาวเทียม SEASAT จะบันทึกข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์และดาวเทียม MOS (Marine Observation Satellite) นอกจากจะใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์ แล้ว ยังนำมาใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว ยังนำมาใช้ในการสำรวจบนแผ่นดินแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เป็นต้น
  3.     ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลของผิวโลก จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ มากมาย เช่น ดาวเทียมธีออส THEOS ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย ส่วนดาวเทียม LANDSAT ของ สหรัฐอเมริกา ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศส ดาวเทียม ERS ของกลุ่มประเทศ ยุโรป ดาวเทียม RANDARSAT ของประเทศแคนาดา เป็นต้น
 
  
 
       4.    ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมเพื่อการติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น การรับส่งสัญญาณ โทรศัพท์
โทรสาร ข่าวสาร ภาพโทรทัศน์ รายการวิทยุ ข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดาวเทียมสื่อสารเป็น ดาวเทียม
ค้างฟ้าที่อยู่คงที่บนฟ้าของประเทศใดประเทศ หนึ่งตลอดเวลา โดยหลายประเทศจะมีดาวเทียมสื่อสาร ภายใน
ประเทศของตนเอง เช่น ประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคม ประเทศญี่ปุ่นมีดาวเทียมซากุระ ประเทศฝรั่งเศสมีดาว
เทียมยูริสหรัฐอเมริกามีดาวเทียมเวสดาร์ แคนาดามีดาวเทียมแอนิค เป็นต้น
      5.     ดาวเทียมเพื่อกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจหาตำแหน่งของวัตถุบนพื้นโลก
ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น เป็นเครื่องมือนำร่องยานพาหนะต่างๆ จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง
การกำหนดตำแหน่งเพื่อวางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค การหาตำแหน่งของสถานที่ที่ต้องการเดินทางไป
โดยใช้ระยะทางที่สั้นที่สุด เป็นต้น
    6.     ดาวเทียมเพื่อกิจการทหาร เป็นดาวเทียมที่ใช้ในภารกิจของทหาร การถ่ายภาพจากกรรมความลับของข้าศึก
การศึกษาแนวพรมแดน การกำหนดเป้าโจมตีทางทหาร ดาวเทียมทหารมักจะเป็นความลับของทุกประเทศ และ
ดาวเทียมทั่วไปก็ อาจมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเสริมเพื่อใช้งานทางทหาร เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสารในการ
ติดต่อระหว่างกองทัพกับฐานทัพ การใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาในการสำรวจอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติ
การทางทหารต่าง ๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของข้อมูลจากจานดาวเทียม ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์ ดังนี้
1.    ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ได้มีการศึกษาและวางแผนอย่างมีระบบและได้มีการดำเนินงานในพื้นที่แล้ว เช่น พื้นที่ที่ควรคืนสภาพป่า พื้นที่ที่อนุญาตให้ตัดไม้ จำเป็นต้องมีวิธีการจัดการอย่างต่อเนื่อง เช่น การเข้าไปสังเกตการณ์ การตรวจวัดหรือตรวจสอบ แต่ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่การติดตามตรวจสอบทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง จึงมีการนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้
                                                                                     
ภาพดาวเทียมแสดงภูมิลักษณ์ของประเทศไทย
2.      ด้านการทำแผนที่ ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาสร้างเป็นแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่ดิน เป็นต้น ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงช้าและข้อมูลบางชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เช่น การเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่าการใช้ที่ดิน เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยยังมีการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมค่อนข้างจำกัด สำหรับการจัดทำ แผนที่เฉพาะเรื่อง บทบาทสำคัญของข้อมูลดาวเทียมจึงใช้ในการปรับปรุงแผนที่เดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น การปรับปรุงแผนที่ ภูมิประเทศ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เป็นต้น ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่สำคัญ เช่น ดาวเทียม LANDSAT ดาวเทียม SPOT และ MOS-1 เป็นต้น
 
3.      ด้านอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการติดตามลักษณะอากาศในช่วงเวลาตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การพยากรณ์อากาศมีความถูกต้องแม่นยำและทันเหตุการณ์
                                           ภาพดาวเทียม MTSAT-2 ของอุตุนิยมวิทยาสิงค์โปร์
 
 
                                 ภาพแสดงอุณหภูมิผิวน้ำทะเล ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม
                                                      (สีโทนส้มแดง คือ บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง)
ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันและเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสียที่เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น การเกิดฝนฟ้าคะนอง การเคลื่อนตัวของพายุ การเกิดน้าท่วม เป็นต้น ทำให้สามารถวางแผนการช่วยเหลือและฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสม
ในปัจจุบันดาวเทียมมีบทบาทมากขึ้นในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านความบันเทิง ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้าน ธรณีวิทยา ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา หรือแม้แต่ด้านโทรคมนาคมและดาวเทียมก็ยังถูกพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนก้าวไปสู่ระบบอุตสาหกรรมดาวเทียม

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใช้หาข้อมูล
1.              เข็มทิศ (compass)
เข็มทิศเป็นเครื่องมือพื้นฐานอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาภูมิศาสตร์ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้หาทิศทาง เข็มทิศมีหลายชนิดและหลายรูปแบบ แต่มีหลักการในการทำงานเหมือนกัน คือ เข็มบอกทิศ(เข็มแม่เหล็ก) ซึ่งแกว่งไกวได้อิสระจะทำปฏิสัมพันธ์กับแรงดึงดูดของขั้วแม่เหล็กโลก โดยปลายข้างหนึ่งของเข็มบอกทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือเสมอและส่วนปลายอีกข้างหนึ่งจะชี้ไปทางทิศใต้เสมอ
2.   เครื่องมือวัดระยะทางในแผนที่(map measurer)
เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับวัดระยะทางคดเคี้ยวไปมา และทำให้ค่าความคาดเคลื่อนน้อย ลักษณะของเครื่องมือประกอบด้วยลูกกลิ้งที่ปลายติดกับล้อที่เป็นหน้าปัดแสดง ระยะทางบนหน้าปัดมีเข็มเล็กๆคล้ายเข็มนาฬิกา เข็มจะวิ่งไปตามระยะที่ลูกกลิ้งหมุนไปมีด้ามสำหรับจับ
3.              เครื่องมือวัดพื้นที่ (planimeter)
 เครื่องมือวัดพื้นที่เป็นอุปกรณ์สำหรับหาพื้นที่ของรูปบนพื้นที่ระนาบ ซึ่งมีเส้นรอบรูปเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง
 
 
 
 
 
 
4.              กล้องสามมิติ  (stereoscope)
เป็นเครื่องมือสำหรับมองภาพสามมิติ กล่าวคือ สามารถมองความสูง-ต่ำของภูมิประเทศในลักษณะสามมิติ ประกอบด้วยเลนส์ 2 อัน ซึ่งสามารถปรับให้เท่ากับระยะห่างของสายตาผู้มองได้ในการมองจะต้องวางภาพให้อยู่ในแนวเดียวกันและต้องเป็นภาพที่ทำการถ่ายต่อเนื่องกัน ซึ่งแต่ละภาพจะมีรายขอบที่ทับกันหรือซ้อนกัน โดยพื้นที่ของภาพในแนวนอนให้ชายขอบของภาพมีพื้นที่ทับซ้อนกันประมาณร้อยละ 60 และในแนวตั้งร้อยละ 20 กล้องสามมิติที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิดคือ กล้องสามมิติแบบพกพา (poket stereoscope) สามารถนำติดตัวไปใช้ได้ง่าย แต่ดูภาพได้บริเวณแคบ ๆ ส่วนอีกชนิดหนึ่ง คือ กล้องสามมิติแบบกระจกเงา (mirror atereoscope) โดยใช้กระจกเงาสะท้อนภาพทำให้เห็นได้เป็นบริเวณกว้างกว่ากล้องสามมิติแบบพกพา
5.   บารอมิเตอร์ (barometer)
               เป็นเครื่องมือวัดความกดอากาศที่ใช้มากมี 3 ชนิด คือ
1)   บารอมิเตอร์แบบปรอท (mercury barometer) เป็นบารอมิเตอร์มาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศ คือ มิลลิเมตรของปรอท และมิลลิบาร์
 
2)     บารอมิเตอร์แบบตลับ หรือแบบแอนิรอยด์ (aneroid barometer) ประกอบด้วยตลับโลหะบางๆ ที่สูบอากาศออกเกือบหมด ตรงกลางตลับมีสปริงต่อไปยังคานและเข็มชี้ เมื่อความกดอากาศเปลี่ยนแปลงตลับโลหะจะพองหรือแฟบลง ทำให้สปริงดึงเข็มชี้ที่หน้าปัดตามความกดอากาศ 
 


 
3)    บารอกราฟ(barograph)ใช้หลักการเดียวกันกับบอรอมิเตอร์แบบตลับ แต่ต่อแขนปากกาให้ไปขีดบนกระดาษกราฟที่หุ้มกระบอกหมุนที่หมุนด้วยนาฬิกา จึงบันทึกความกดอากาศ


6.  เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer)  เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิอากาศ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีดังนี้
1)   เทอร์โมมิเตอร์ธรรมดา (ordinary thermometer) ที่ใช้กันเสมอในการตรวจวัดอุณหภูมิประจำวัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ธรรมดาชนิดปรอทบรรจุอยู่ในหลอดแก้ว สามารถวัดอุณหภูมิได้อยู่ระหว่าง -20 ถึง 50 องศาเซลเซียส
2)    เทอร์โมมิเตอร์สูงสุด (maximum thermometer) คือ เทอร์โมมิเตอร์ชนิดปรอทบรรจุอยู่ในหลอดแก้วเช่นเดียวกับเทอร์มิเตอร์ ธรรมดา แต่แตกต่างกันตรงที่ว่าบริเวณลำเทอร์โมมิเตอร์เหนือกระเปาะบรรจุปรอทขึ้นมา เล็กน้อยจะเป็นคอคอดป้องกันปรอทที่ขยายตัวแล้วไหลกลับลงกระเปาะ ใช้วัดอุณหภูมิสูงสุด
3)     เทอร์โมมิเตอร์ต่ำสุด (minimum thermometer) คือเทอร์โมมิเตอร์ชนิดเอทิลแอลกอฮอล์บรรจุในหลอดแก้ว มีก้านชี้รูปดัมบ์เบลล์ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตรบรรจุอยู่ ใช้วัดอุณหภูมิต่ำสุด


4)    เทอร์โมมิเตอร์แบบซิกซ์ (six's thermometer) ลักษณะเป็นหลอดแก้วรูปตัวยู ภายในบรรจุปรอทและแอลกอฮอล์ มีก้านชี้โลหะรูปดัมบ์เบลล์อหยู่ในหลอดข้างละ 1 อัน หลอดทางซ้ายบอกอุณหภูมิต่ำสุด หลอดทางขวาบอกอุณหภูมิสูงสุด อ่านอุณหภูมิจากขอบล่าง
 

 
5)   เอร์โมกราฟ (thermograph) เป็นเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิแบบต่อเนื่อง ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ เทอร์โมกราฟแบบโลหะประกบ ปกติจะนำไปรวมกับไฮโกรกราฟเป็นเครื่องเดียวกันเรียกว่า เทอร์โมไฮโกรกราฟ ส่วนอีกแบบหนึ่งเรียกว่า เทอร์โมกราฟชนิดปรอทบรรจุในแท่งเหล็ก เครื่องมือชนิดนี้สามารถวัดอุณหภูมิของดินได้ด้วย